วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Nurburgring สนามเเข่งรถระดับตำนาน + เส้นทางสนามเเข่งระยะทางยาวที่สุดในโลก



Nurburgring




Nurburgring กับระยะทางนับสิบ ก.ม ลัดเลาะผ่านโค้ง 73 โค้งรอบๆภูเขา ทำให้มันเป็นสนามที่เป็นสุดยอดแห่งการขับรถแข่งที่สุดในโลกอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นการยากที่ผมจะอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้งเป็นตัวอักษรว่ามันสุดยอดอย่างไร แต่ถ้าคุณลองจินตนาการทางหลวงที่ลัดเลาะไปตามภูเขาสายโปรดของคุณ กับสนามแข่งสนามโปรดของคุณ แล้วเอามันรวมเข้าด้วยกัน นั่นคือความรู้สึกของการโลดแล่นอยู่ใน Nurburgring จำนวนโค้งทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าใครจะนับนะครับ เพราะมันมีโค้งเล็กโค้งน้อยเต็มไปหมด แต่ตัวเลขที่เป็นทางการจาก N?rburgring คือ 73 

สนามนี้ถูกสร้างระหว่างปี 1925-1927 วัตถุประสงค์ในตอนแรกนอกจากจะเป็นสนามแข่งแล้ว ยังเพื่อเป็นสนามทดสอบรถด้วย สนามนี้ถูกใช้แข่งมาจนถึงปี 1976 จนกระทั่ง Niki Lauda เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในการแข่งขัน German Gran Prix F1 จนแทบเอาชีวิตไม่รอดจึงถูกยกเลิกไป แต่สนามนี้ยังคงเปิดให้สาธารณชนเข้าใช้ได้จนถึงปัจจุบัน (ประวัติต่างๆของ Nurburgring ผมเคยเขียนเอาไว้ที่อีกเวปนึงนะครับ ไม่แน่ใจว่ายังอยู่หรือเปล่า- F/D)

ปัจจุบันมันถูกใช้แข่งขันอย่างเป็นทางการบ้างไม่กี่รายการ และถูกใช้เป็นสนามทดสอบรถของรถยนต์หลายยี่ห้อ ช่วงเวลาที่สนามที่เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้ส่วนมากจึงจะเป็นช่วงตอนเย็นของวันธรรมดาเกือบทุกวัน และตอนเย็นวันหยุดราวๆสองสามสัปดาห์ต่อปี 

ในช่วงที่เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้ Nurburgring จะเปรียบเสมือนว่าเป็นทางหลวงเส้นหนึ่งที่ไม่มี speed limit เพราะฉนั้นรถที่จะไปวิ่งอยู่ในนั้นจะต้องเป็นรถที่ถูกกฏหมายแบบ 100% ตามกฏหมายที่บังคับใช้กับถนนหลวงทั่วไปของเยอรมัน และรถทุกคันจะต้องมีประกันภัยเหมือนรถบนถนนปกติ แต่อย่างไรก็ตามการประกันภัยปกติอาจจะไม่ครอบคลุมความรับผิดต่อความเสียหายทั้งหมดเพราะบางบริษัทถือว่า Nurburgring ไม่ใช่ทางหลวงปกติ (De-restricted toll-road) บริษัทที่รับประกันภัยครอบคลุมในสนามจะคิดค่าประกันอยู่ในราว 250 ปอนด์/วัน  

บทความนี้พอจะช่วยให้ข้อมูลคุณได้หากคุณกำลังจะวางแผนเพื่อที่จะไปขับรถหรือขี่มอเตอร์ไซค์ใน Nurburgring เป็นครั้งแรก ซึ่งอาจจะไม่ครบถ้วนนักแต่ในฐานะที่ผมเป็นคนที่ชอบขับรถใน Nurburgring คนหนึ่งถึงขนาดซื้อตั๋วปีเอาไว้เลย และจะไปที่นั่นเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย บางเดือนไปสองสามครั้งก็เคย ประเด็นหลักๆที่อยากจะเตือนก็คือ

หนึ่ง อย่าเพิ่งตัดสินใจไปจนกว่าคุณจะยอมรับความจริงที่ว่าการขับรถใน Nurburgring เป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่งและคุณยินดีที่จะรับความเสี่ยงนี้ และจะสนุกกับมัน (แปลเป็นไทยคงจะราวๆ พังคือพัง ตายคือตาย-F/D) ให้ระลึกเสมอว่าถึงสนามนี้จะเป็นสนามที่สุดยอดแห่งความสวยงาม มันก็เป็นสถานที่ที่อันตรายมากอยู่ในตัวมันเองเหมือนกัน สนามนี้แทบจะไม่มีที่ว่างสำหรับการทำผิดพลาด ไม่มี run-off หากคุณพลาดไม่ว่าที่โค้งใด คุณจะชนเข้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแน่นอน ไม่รั้วกันถนน ก็ต้นไม้ และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดก็คือโค้งเกือบทุกโค้งที่นี่เป็นโค้งที่ไม่สามารถเห็นได้ตลอดโค้ง มักจะเป็นมุมลับตา รวมไปถึงเนินต่างๆจำนวนมากในนั้นด้วย เพราะฉนั้นโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุซ้อนอุบัติเหตุเป็นไปได้สูงจากรถที่วิ่งตามมาข้างหลัง

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทดลอง


9 คำสอนของพ่อ



1. ความเพียร 

การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง 

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516 

2. ความพอดี 

ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน 

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540 

3. ความรู้ตน 

เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน 

พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2521 
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ 

คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้ 

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521 

5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ 

ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม 

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496 

6. พูดจริง ทำจริง 

ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม 

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540 
7. หนังสือเป็นออมสิน 

หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้ 

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514 

8. ความซื่อสัตย์ 

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง 

พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531 

9. การเอาชนะใจตน 

ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ 

พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513